ส่วนของสมาชิก

หลวงพ่อเกษม

หลวงพ่อเกษม

หน้าหลัก » ประวัติพระเกจิ » หลวงพ่อเกษม
Share : แบ่งปันไปยัง facebook

หลวงพ่อเกษม เขมโก

หลวงพ่อเกษม เขมโก หรือ ครูบาเจ้าเกษม เขมโก มีนามเดิมว่า เจ้าเกษม ณ ลำปางท่านเป็นพระเถระและเกจิอาจารย์ ผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย ได้รับความเคารพศรัทธาจากชาวไทยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักร ที่ออกผนวชอีกด้วย

ประวัติ

วัยเด็ก
หลวงพ่อเกษม เขมโก มีนามเดิมว่า เกษม มณีอรุณ เกิดเมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด ตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455ณ บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่น้ำวัง ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นบุตรชายคนหัวปีคนเดียวของ เจ้าน้อยหนู มณีอรุณ และเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง บิดารับราชการเป็นปลัดอำเภอ ชาติตระกูลทั้งบิดาและมารดามาจากตระกูล ณ ลำปาง เป็นหลานเจ้าพ่อบุญวาทย์ วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

เมื่อวัยเด็ก เจ้าเกษม ณ ลำปาง เป็นคนรูปร่างสันทัด ผิวขาวแต่ดูเข้มแข็ง บุคลิกลักษณะดีมาแต่กำเนิด ว่องไวคล่องแคล่ว และมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด

เมื่อถึงวัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง ได้รับการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนบุญทวงศ์อนุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ อ.เมือง จ.ลำปาง เรียนจนจบระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนนี้

บรรพชาและอุปสมบท
ใน พ.ศ. 2468 อายุขณะนั้นได้ 13 ปี เจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้มีโอกาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยบรรพชาเป็นสามเณร เนื่องในโอกาสบรรพชาหน้าศพของเจ้าอาวาสวัดป่าดัวะ เป็นเวลา 7 วันต่อมาในปีพ.ศ. 2470 ขณะนั้นมีอายุ 15 ปี ได้กลับมาบวชเณรอีกครั้งหนึ่งที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปางชีวิตหลังการบรรพชา สามเณรเกษม ณ ลำปาง ก็ได้เรียนทั้ง แผนกธรรม และแผนกบาลี ควบคู่กันไป

ครั้นมีอายุได้ 21 ปี จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. 2475 ณ พัทธสีมา วัดบุญยืน โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมจินดานายก (ฝาย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหารเป็น พระอุปัชฌาย์ครูบาปัญญาลิ้นทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิมลธรรมปัญญาเป็นพระอนุสาวนาจารย์เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้รับฉายาว่า “เขมโก” แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม

ละสังขาร
หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19:40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ

คติธรรมคำสอน

" ...ความหลุดพ้น ที่มนุษย์ทุกคนพึงหานั้น อยู่ที่ตนเอง
หากตนเองมุ่งปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ก็จะได้พบไม่ยาก ขอให้มุ่งปฏิบัติเถิด
การหลุดพ้นนั้น จะต้องทำจิดใจของตนให้หมดกิเลส
หมดสิ้นจากทุกข์ทกอย่าง หมดสิ้นจากสิ่งที่อยากได้
สิ่งที่เรียกว่า โลภ โกรธ หลง ตัดสิ่งนี้ให้หมดสิ้น
และเจริญวิปัสสนากรรมฐานจึงได้พบทางหลุดพ้น... "

คาถา

(ตั้งนโม 3 จบ)
พุทโธ วะโร สะติมะโต สัพพะอันตะรายา วินัสสะตุ ฯ

เป็นบทที่ใช้ภาวนาเพื่อป้องกันอันตราย แคล้วคลาดก่อนการเดินทางหรือออกจากบ้าน

นอกจากนี้ยังมี พระคาถาบูชา คำไหว้หลวงพ่อเกษม เขมโก ณ สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง

โอกาสะ โอกาสะ อาจาริโย เมนาโถ
ภันเต โหตุ อายัสมา เขมโก ภิกขุ เมนาโถ
ภันเตโหตุ อาจาริยัง วันทามิหัง
(รูปะสังฆัง วันทา มิหัง)
3จบ

วัตถุมงคลที่สร้าง

ในเรื่องของวัตถุมงคลหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่ผ่านมา ได้มีการสร้างขึ้นหลายรุ่น หลายแบบ โดยวัดและคณะบุคคลองค์กรต่างๆ เป็นผู้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้น แล้วไปขอบารมีท่านเมตตาอธิษฐานจิตให้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 คือ เหรียญรุ่นวัดนางเหลียว เหรียญรุ่นวัดคะตึกเชียงมั่น พระกริ่งแก้วปฏิมากร วัดเกาะวาลุการาม รุ่นแรก ที่ออกจากสุสานไตรลักษณ์

ต่อมาเมื่อหลวงพ่อมีอายุครบ 5 รอบ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โดยเจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้ขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้าง เหรียญรูปเหมือน และพระผง รุ่น 5 รอบ จำนวนอย่างละ 5,000 องค์ ปรากฏว่าพระรุ่นนี้มีผู้มาเช่าหมดในเวลาเพียง 1 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้นหลังจากนั้นมาได้มีผู้ขออนุญาตสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ต่อมาอีกหลายรุ่น จนถึงปี พ.ศ. 2539


ที่มาเหรียญ: http://www.aj-ram.com/view/หลวงพ่อเกษม เขมโก

วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นในนามของสุสานไตรรัตน์ ครั้งนี้มีหลายแบบ ดังนี้ เหรียญรูปไข่หันข้าง เหรียญกิ่งไผ่ชุบทอง รูปเหมือนบูชา ขนาด 5 นิ้ว พระปิดตามหาโชค แหนบรูปหลวงพ่อ รูปเหมือนครึ่งองค์ รูปเหมือนเต็มองค์ และรูปหล่อลอยองค์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรก ที่ หลวงพ่อได้อนุญาตให้จัดสร้างขึ้น ฝีมือออกแบบโดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ นายช่างผู้มีฝีมือยอดเยี่ยมที่สุดในสมัยนั้นสำหรับวัตถุมงคลที่หลวงพ่อเป็นผู้อนุญาตให้จัดสร้างขึ้นเอง คือรุ่นที่ผลิตปี พ.ศ. 2518 โดยได้มอบหมายให้เจ้าประเวศน์ ณ ลำปาง และคณะศิษย์สร้างขึ้น เพื่อหารายได้สร้างถนนลาดยางเข้าไปยังอนุสาวรีย์เจ้าแม่สุชาดา หมู่บ้านวังย่าเฒ่า

วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2518 หลวงพ่อเกษม ได้เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกตลอดคืน นานกว่าพระทุกรุ่นที่มีการสร้างขึ้นมาก่อนหน้านี้  เนื่องจากรูปหล่อ เนื้อนวโลหะ ตอกโค้ดรูป “หนู” มีจำนวนมาก นิยมแพร่หลาย จึงเรียกกันติดปากว่า “รูปหล่อก้นหนู” เป็นที่ยอมรับกันว่า องค์พระมีความสวยงามคมชัด  และเหมือนกับหลวงพ่อมากที่สุด สมัยนั้นนิยมกันอย่างกว้างขวาง

ที่มาพระเครื่อง: http://www.aj-ram.com/view/รูปหล่อหลวงพ่อเกษม รุ่นแรก ปี ๒๕๑๘ กำลังแรงค์

ที่มาเหรียญ: http://www.aj-ram.com/view/10 อันดับ พระเกจิอาจารย์ล้านนา ยอดนิยมปี 55

เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่นกองพันลำปาง ปี พ.ศ. 2517 เป็นเหรียญที่ติดอันดับพระยอดนิยมมาหลายครั้ง รุ่นนี้เป็นกรณีศึกษา การสร้างพระ เพราะผู้สร้างเจตนาดีเพื่อช่วยเหลือกำลังพลและครอบครัวทหาร พิมพ์สวยงาม ออกแบบโดยสุดยอดฝีมือ ช่างเกษม มงคลเจริญ จำนวนสร้างเหมาะสม เนื้อทองคำ 13 เหรียญ เนื้อเงิน 300 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 200 เหรียญ เนื้อทองแดง  2,000 เหรียญ รวมประมาณ 2,513 เหรียญ ตอกโค้ด กงจักร แยกตำแหน่งตามเนื้อพระทุกเหรียญ และที่สำคัญ หลวงพ่อเกษม เป็นพระอริยสงฆ์ที่ศรัทธาประชาชนเคารพนับถือกันมาก